
บรรดาแฮกเกอร์ได้ใช้โซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมทั่วโลกอย่าง Facebook สร้างมัลแวร์ที่เรียกว่า SilentFade ที่ทำให้สามารถซ่อนตัวจากผู้ใช้งานที่เป็นเหยื่อของพวกแฮกเกอร์ทั้งหลายได้ แต่อย่างไรก็ตามพวกแฮกเกอร์ไม่สามารถซ่อนกิจกรรมต่างๆ ของตัวเองจากการตรวจสอบของ Facebook ได้

Facebook ไล่ปิดมัลแวร์ที่ลักลอบลงโฆษณาโดยไม่ต้องจ่ายเงิน
Facebookได้เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติตั้งแต่ปี 2018 แล้วว่ามีการปิดฟังก์ชั่นแจ้งเตือนภายในบัญชีการใช้งานทั้งหมดในบางบัญชี โดยแฮกเกอร์ได้ใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในการตั้งรหัสของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กในการขโมยบัญชีผู้ใช้Facebook นั่นเอง ซึ่งเมื่อแฮกเกอร์ได้บัญชีมาแล้วจะลงโฆษณาผ่าน Facebook โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินเอง แต่เจ้าของบัญชีที่ถูกขโมยจะเป็นผู้จ่ายเงินแทน ซึ่งโฆษณาที่บรรดาแฮกเกอร์ส่วนใหญ่นำมาเผยแพร่จะเป็นพวกยาลดความอ้วน ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับทางเพศ ตลอดจนสินค้าแบรนด์เนมที่เป็นของปลอมอย่างเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และแว่นตา
SilentFade เป็นมัลแวร์ที่ติดมากับการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่ไม่ถูกต้อง จะแฝงตัวเข้าไปอยู่ในบัญชีของ Facebook ต่อจากนั้นก็จะเริ่มทำงาน โดยการปิดระบบการแจ้งเตือนทั้งหมดของบัญชีที่ขโมยมา ดังนั้นจะทำให้ผู้ใช้งานไม่ได้การแจ้งเตือนว่าบัญชี Facebook ของตัวเองทำกิจกรรมอะไรไปบ้าง

ทั้งนี้นักวิจัยของ Facebook ยังพบว่านอกจากการขโมยบัญชี Facebook เพื่อแอบลงโฆษณาแล้ว บัญชีของ Instagram Twitter และ Amazon ก็ถูกขโมยด้วยเช่นกัน โดยหัวหน้านโยบายความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Facebook กล่าวว่าบริษัทต้องการเห็นความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตแอนติไวรัสและแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในการป้องกันในเรื่องดังกล่าวให้มากขึ้น เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการหยุดการกระทำของแฮกเกอร์ให้ได้ โดยบริษัทแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook จะเห็นกิจกรรมที่ผิดปกติของแต่ละบัญชี ส่วนบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์แอนติไวรัสจะเห็นการแพร่กระจายไวรัสบนอุปกรณ์ของผู้ใช้ ถ้าสามารถร่วมมือกันก็จะถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีการหลอกลวงอีกประเภทของแฮกเกอร์ที่จะใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การปิดบัง” เพื่อซ่อนเนื้อหาที่แท้จริงของลิงค์ที่มีการโฆษณาอยู่ทั่วไป โดยหัวหน้าฝ่ายธุรกิจของ Facebook ได้ให้ความเห็นว่าแฮกเกอร์กำลังมองหาวิธีการสร้างรายได้จากการเข้าบัญชี Facebook และ Instagram ที่จะให้แฮกเกอร์ได้รับค่าคอมมิชชั่นผ่านเครือข่ายพันธมิตรโฆษณาหรือสร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาสินค้าของตัวเอง
อย่าลืมติดตาม ข่าวไอที 2020 และข่าวสารเกี่ยวกับ Facebook อื่นๆได้อีก เช่น Facebook, YouTube และ Twitter พร้อมใจกันลบ เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม
เพราะเทคโนโลยีมีแต่จะก้าวไปข้างหน้า ไม่มีวันหยุดพัฒนาเพื่อรอคุณ…!!!!