ตัวคนเดียวก็สามารถทำได้กับ พื้นยางมะตอยสำเร็จรูป ได้อย่างง่ายๆ

โดยทั่วไป งานก่อสร้างเป็นงานใหญ่ ต้องใช้คนงานหรือช่างฝีมือเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างงานปูพื้นทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นปูนหรือการใช้อิฐตัวหนอนแม้เพียงพื้นที่เล็กๆ ภายในบ้านก็ยังต้องพึ่งฝีมือแรงงาน ในยุคที่ผู้บริโภคต้องพึ่งตนเองเพราะหาแรงงานยาก อีกทั้งยังถูกผลกระทบจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก วันนี้นักวิจัยไทยจึงช่วยลดความยุ่งยากในเรื่องการปูพื้นให้คุณพ่อบ้านแม่บ้านได้มีทางเลือกใหม่คือแผ่น พื้นยางมะตอยสำเร็จรูป

พื้นยางมะตอยสำเร็จรูป

พื้นยางมะตอยสำเร็จรูป เกิดขึ้นมาได้ยังไง

นวัตกรรมนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชน คือ บริษัท บิทูเมนอินโนเวชั่น จำกัด กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยออกแบบวัสดุสำหรับการปูพื้นหรือปิดผิวด้วยโครงสร้างถึงสามชั้น ได้แก่ ชั้นบนสุด คือยางมะตอยผสมหินกรวดที่รับน้ำหนักและแรงเสียดทานได้ดีทั้งยังกันน้ำรั่วซึมได้ด้วย ส่วนชั้นกลางคือตาข่ายไฟเบอร์ที่ช่วยรักษารูปทรงแผ่นพื้นยางมะตอยไม่ให้ฉีกขาด และชั้นล่างเป็นยางมะตอยสูตรพิเศษที่ออกแบบสำหรับการยึดเกาะกับพื้นผิวที่ต้องการจะปูพื้น ไม่ว่าจะเป็นวัสดุชนิดใด เช่น พื้นดินลูกรัง พื้นหญ้า พื้นคอนกรีต ทั้งที่ราบและลาดชัน หรืออาจจะเป็นบริเวณพื้นที่ไม่เรียบก็ยังใช้ได้   

ผู้ใช้สามารถทำได้เองง่ายๆ ตั้งแต่การตัดเป็นรูปทรงที่ต้องการโดยการกรีดด้วยคัทเตอร์ก่อน แล้วใช้มือหักออกตามแนวกรีด จากนั้นก็ลอกแผ่นกระดาษออกจากผิวชั้นล่างเพื่อนำไปปูพื้นได้ทันที และหากอยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง ก็เพิ่มขั้นตอนการใช้เทปกาวยางมะตอยปิดลงไปตามแนวรอยต่อของแต่ละแผ่น เพื่อเชื่อมต่อให้เป็นผืนเดียวกัน ซึ่งป้องกันมิให้ต้นหญ้างอกแซมขึ้นมาได้ด้วย

พื้นยางมะตอยสำเร็จรูป

แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปชนิดนี้มีความแข็งแรงใกล้เคียงกับการทำถนนด้วยยางมะตอย คือ รับแรงกระแทกเสียดสีได้ดี ไม่ทำให้ลื่นไถล ไม่ซับน้ำและความชื้น และยังช่วยเก็บเสียง กับช่วยลดการสะสมความร้อนจากแสงแดดอีกด้วย เหมาะสำหรับการใช้งานต่างๆ เช่น ที่จอดรถ ทางจักรยาน ทางวิ่ง จุดซักล้าง หรือจุดที่ไม่ต้องการให้ต้นหญ้างอกขึ้นมาอย่างไหล่ทางหรือเกาะกลางถนน ซึ่งข้อดีอีกอย่างก็คือ ไม่เกิดการทรุดตัวและทำให้พื้นผิวเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากการทรุดตัวหรือแตกหักอย่างพื้นคอนกรีตหรืออิฐที่ใช้ปูพื้น  

แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปในปัจจุบันมีขนาด 50 x 50 ซม. และ 50 x 100 ซม. หนา 5-30 มม. ราคาขายตารางเมตรละ 270-450 บาท ใกล้เคียงกับกระเบื้องเซรามิก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขยายกำลังผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมโดยมุ่งต่อยอดให้ดึงดูดผู้ใช้มากกว่านี้ เช่น เพิ่มลวดลายและสีสัน คายความร้อนได้มากขึ้น และนำน้ำยางพาราที่เป็นวัตถุดิบหาง่ายในประเทศมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมด้วย     

อย่าลืมติดตาม ข่าวไอที 2020 และติดตามข่าวสิงคโปร์ กำลังจะกลายเป็นแลนด์มาร์คการผลิตใหม่ของประเทศจีน

เพราะเทคโนโลยีมีแต่จะก้าวไปข้างหน้า ไม่มีวันหยุดพัฒนาเพื่อรอคุณ…!!!!