ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

ข่าวเทคโนโลยี

เทคโนโลยีและวิวัฒนาการทางคอมพิวเตอร์จากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมากมาย สามารถแบ่งออกได้ 5 ยุคดังนี้

ยุคที่หนึ่ง (1951 –1958) ยุคของหลอดสุญญากาศ

เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่าอินิแอค ( Electronic Numerical Integrator And Calculator : ENIAC)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศจำนวนมาก ยุคนี้คอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงทำให้เครื่องมีความร้อนสูงและมีปัญหาไส้หลอดขาดบ่อย

  • ลักษณะของเครื่อง: คอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ ใช้ไฟฟ้าแรงสูง
  • วัสดุที่ใช้สร้าง: วงจรอิเลคทรอนิคส์ และหลอดสุญญากาศ
  • ความเร็วในการทำงาน: วินาที
  • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้: ภาษาเครื่อง (Machine Language)
  • ตัวอย่างเครื่อง: UNIVACI, IBM650, NCR102

ยุคที่สอง (1959 –1964) ยุคของทรานซิสเตอร์

ใช้ทรานซิสเตอร์ในการผลิตคอมพิวเตอร์แทนหลอดสุญญากาศทำให้ตัวคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก ไม่เปลืองกระแสไฟฟ้า ไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่องเมื่อแรกเปิดเครื่อง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและความเร็วเพิ่มขึ้น

  • ลักษณะของเครื่อง: มีขนาดเล็ก มีความร้อนน้อย และราคาถูก
  • วัสดุที่ใช้สร้าง: ใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศ และใช้วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) เป็นหน่วย ความจำภายใน
  • ความเร็วในการทำงาน: millisecond หรือ หนึ่งในพันของวินาที
  • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้:ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ภาษาฟอร์แทรน (Fortran)
  • ตัวอย่างเครื่อง: IBM1620, IBM1401, CDC1604, Honeywell 200

ยุคที่สาม (1965 –1971) ยุคของแผงวงจรรวม

มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม  (Integrated-Circuit : IC) “ไอซี” ซึ่งทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มากทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม

  • ลักษณะของเครื่อง: มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม ความเร็วเพิ่มขึ้น และใช้ความร้อนน้อย
  • วัสดุที่ใช้สร้าง: ใช้IC (Integrated Circuit) ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว จึงมีขนาดเล็ก
  • ความเร็วในการทำงาน: microsecond หรือ หนึ่งในล้านของวินาที
  • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้: ภาษาโคบอล(COBOL) และพีแอลวัน(PL/I)
  • ตัวอย่างเครื่อง :IBM360, CDC3300, NCR395

ยุคที่สี่ (1971 –1980) ยุคของแผงวงจรขนาดใหญ่

จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์(microcomputer)

  • ลักษณะของเครื่อง: คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กหรือเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ ทำงานเร็ว ไม่ร้อน
  • วัสดุที่ใช้สร้าง: ใช้วงจรรวมขนาดใหญ่ (LSI-Large Scale Integrated Circuit)
  • ความเร็วในการทำงาน: nanosecondหรือ หนึ่งในพันล้านของวินาที
  • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้: ภาษาเบสิค, ปาสคาล, ซี
  • ตัวอย่างเครื่อง: IBM 370, IBM 3033, CDC 7600,

IBM PC (XT และAT), UNIVAC 9700

 

ยุคที่ห้า (1980 –ปัจจุบัน) ยุคปัจจุบัน

เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์ส่วนใหญ่นำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาในการทำงานเกือบทุกที่ในปัจจุบัน โดยจะมีการเก็บข้อมูล เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงข้อมูลที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ มีการนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet) คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)

  • ลักษณะของเครื่อง: คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพ สูง
  • วัสดุที่ใช้สร้าง: ใช้วงจรรวมขนาดใหญ่มาก(VLSI-Very Large Scale Integrated Circuit) และมีหน่วยความ จำหลักและหน่วยความจำรองที่มีขนาดใหญ่
  • ความเร็วในการทำงาน: picosecond หรือ หนึ่งในล้านล้านของวินาที
  • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้: ภาษาเชิงวัตถุ(Object-Oriented) เช่น C++, Java, Visual programming
  • ตัวอย่างเครื่อง: PC desktop และ notebook ในปัจจุบัน