ทำความรู้จักกับ OSI Model / Past.2

ชั้นที่ 6 Presentation Layer หรือ พรีเซนเทชั่น เลเยอร์

เป็นชั้นที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง โดยการทำงานของชั้นนี้ก็คือ จะแปลงข้อมูลที่ได้รับมาต่อจาก Application ให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกับเครื่องของผู้รับ จะทำให้สามารถติดต่อกันได้รู้เรื่อง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการส่งข้อมูลไฟล์ที่เป็นเอกสาร word ก็จะต้องมีนามสกุล .DOCX ถ้าเราต้องการส่งข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ก็จะต้องมีนามสกุล .JPEG,PNG เป็นต้น

ชั้นที่ 5 Session Layer (เซสชั่น เลเยอร์)

ในชั้นนี้จะเป็นชั้นที่ควบคุมจังหวะการรับและส่งข้อมูลระว่าเครื่องของผู้รับและเครื่องของผู้ส่ง โดยที่จะควบคุมในตอนที่เริ่มต้นและตอนที่สิ้นสุดการส่งข้อมูล เพื่อที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองฝั่งจะสามารถสื่อสารระหว่างกันได้และในการส่งข้อมูลก็จะต้องมีความถูกต้อง ซึ่งหากมีความผิดพลาดในระกว่าการโอนถ่ายข้อมมูล ก็จะต้องเริ่มต้นกระบวนการใหม่อีกครั้ง และวิธีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลก็อาจจะเป็นแบบสลับกันส่ง หรือส่งข้อมูลไปพร้อมๆกัน โดยที่จะใช้โปรโตคอล ASP, BSD, Winsock, NetBIOS

ชั้นที่ 4 Transport Layer (ทรานสปอรต์ เลเยอร์)

ในชั้นนี้จะเป็นชั้นที่มีหน้าที่หลักในการรับข้อมูลจากชั้นควบคุมการสื่อสาร (Session Layer) ซึ่งจะต้องแบ่งข้อมูลออกเป็น package ขนาดย่อมๆหลายๆ package ในกรณีที่มีข้อมูลปริมาณมาก แล้วจึงจะส่งข้อมูลชุดต่อไปให้กับโปรแกรมชั้นควบคุมเครือข่าย โปรแกรมในชั้นนี้จะเป็นผู้กำหนดประเภทของการให้บริการต่างๆ ซึ่งจะแบ่งการอำนวยความสะดวกออกเป็น 3 ประเภท

  1. การให้บริการแบบจุดต่อจุด โดยจะเน้นการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลเป็นหลัก
  2. การให้บริการข้อมูลในระดับ Package แม้ว่าจะไม่รับประกันการสูญหายของข้อมูลแต่ก็จะมีความคล่องตัวกว่าแบบแรก
  3. การส่งข้อมูลแบบกระจายข่าวเพื่อประโยชน์ในการส่งข้อมูลชุดเดียวกันไปที่ผู้ใช้หลายจุดพร้อมๆกัน

ชั้นที่ 3 Network Layer (เน็ตเวิร์ค เลเยอร์)

จะเป็นชั้นที่ทำหน้าที่ควบคุมการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดต่างๆ ในระบบเครือข่ายให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องหาเส้นทางที่จะให้ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งไปตามโหนดต่างๆ จนถึงโหนดผู้รับข้อมูลในที่สุด และโฮสต์บางกลุ่มจะมีการกำหนดเส้นทางเดินข้อมูลโดยศึกษาระบบเครือข่ายแล้วสร้างตารางเส้นทางเดินข้อมูลแบบถาวร

ชั้นที่ 2 Data Link Layer (ดาต้า ลิงค์ เลเยอร์)

เป็นชั้นสื่อสารการเชื่อมต่อข้อมูล โดยจะทำการรวบรวมข้อมูลจากชั้นกายภาพมาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยที่ผู้ส่งข้อมูลจะแบ่งข้อมูลที่มีความยาวมากออกเป็นกลุ่มข้อมูลย่อยๆแต่ละส่วนจะเรียกว่า Data frame ชุดของดาต้าเฟรมสำหรับข้อมูลที่ต้องสารส่ง จะถูกส่งไปทีละเฟรมตั้งแต่เฟรมแรกไปจนครบทุกเฟรม เพื่อเป็นการบอกให้ผู้ส่งทราบว่าข้อมูลครบแล้ว กระบวนการรับและส่งข้อมูลก็จะเสร็จสมบูรณ์

ชั้นที่ 1 Physical Layer (ฟิซิเคิล เลเยอร์)

ชั้นนี้จะเป็นชั้นที่อยู่ระดับล่างสุดโดยจะเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ จะทำหน้าที่ในการกำหนดวิธีควบคุมการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระดับบิต ซึ่งจะเป็นการส่งข้อมูลที่มีค่าเป็น 0 และ 1 ซึ่งจะต้องใช้กี่โวลต์ แต่ละบิตจะใช้เวลาในการส่งเท่าใด เป็นการส่งแบบเดียวหรือสองทาง การติดต่อจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ จะเป็นหน้าที่ของชั้นนี้ทั้งหมด