ทำความรู้จักกับ OSI Model / Part.1

Part 1

การที่เราจะทำงานในสายงานของผู้ดูแลระบบหรือ System Admin ได้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักกับระบบเครือข่ายเบื้องต้น หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบเครือข่าย ซึ่ง OSI Model เป็นพื้นฐานสำคัญที่คนที่ทำงานในสายงานนี้จำเป็นที่จะต้องรู้จัก ซึ่งในระบบเครือข่ายที่มีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ต้นทางและปลายทาง จะต้องมีองค์ประกอบหรือส่วนประกอบในหลายๆด้านที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทั้งคู่สามารถติดต่อกันได้

ซึ่งองค์กรมาตรฐานนานาชาติหรือ ISO (International Organization for Standardization) จึงได้มีการกำหนดมาตรฐาน OSI (Open System Interconnection) ขึ้นมาเพื่อให้ส่วนประกอบที่แตกต่างกันทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จากผู้ผลติในหลายๆเจ้า สามารถทำงานร่วมกันได้โดยมี OSI Model เป็นมาตรฐานในการอ้างอิงเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Windows หรือ คอมพิวเตอร์ Mac ก็สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้ด้วยมาตรฐาน OSI แม้ว่าจะเป็นระบบปฏิบติการคนละอย่างก็ตาม

ซึ่งในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ OSI Model กันแบบง่ายๆ โดยที่คนที่ต้องการจะก้าวเข้าไปในสายงานของผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูและระบบเครื่องข่ายจำเป็นที่จะต้องรู้จักกัน

มาตรฐาน OSI Model จะมีการทำงานที่แบ่งออกได้เป็นทั้งหมด 7 Layer ซึ่งในแต่ละเลเยอร์ก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป โดยที่หากเครื่องต้นทางของเราต้องส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ข้อมูลก็จต้องเริ่มต้นจากเลเยอร์ที่ 7 ลงไปตามลำดับจนถึงเลเยอร์ที่ 1 หลังจากนั้นข้อมูลก็จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณเพื่อที่จะสามารถส่งผ่านสายสัญญาณที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองตัวนี้ไว้ และข้อมูลที่เครื่องนี้ส่งกลับไปก็จะไปเริ่มต้อนที่เลเยอร์ที่ 1 และข้อมูลก็จะถูกแปลงและส่งขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงเลเยอร์ที่ 7

ดังนั้นในการรับและส่งข้อมูลนั้น ข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยังเลขเยอร์ที่ติดกันเท่านั้นจะไม่ส่งข้ามผ่านเลเยอร์ โดยที่ฝั่งที่ส่งข้อมูล จะเริ่มส่งจากเลเยอร์บนลงเลเยอร์ล่าง และฝั่งที่รับข้อมูลก็จะรับจากเลเยอร์ล่างขึ้นไปเลเยอร์บน และเครื่องทั้งสองเครื่องจะต้องใช้โปรโตคอลติดต่อกันเฉพาะที่อยู่ในเลเยอร์ชั้นเดียวกันเท่านั้น

ขั้นที่ 7 Application Layer หรือ แอพพลิเคชั่น เลเยอร์

จะเป็นเลเยอร์ที่อยู่ชั้นบนที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้งานหรือ User มากที่สุด ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพวกแอบพลิเคชั่นหรือโปรแกรมต่างๆ แต่มันคือส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้งานและแอพพลิเคชั่นต่างๆที่เราใช้ โดยที่จะหน้าที่ให้ผู้ใช้งานสามารถ รับหรือส่งไฟล์ รับหรือส่งอีเมล์ ใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ ได้โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง โดยกระบวนการติดต่อที่ว่านี้ก็ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการโอนไฟล์เราก็จะต้องใช้โปรโตคอล FTP หรือการเข้าใช้งานเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเข้าใช้เว็บไซต์ก็จะใช้โปรโตคอล HTTP เป็นต้น